สถิติ
เปิดเมื่อ18/06/2013
อัพเดท20/09/2013
ผู้เข้าชม11354
แสดงหน้า12361
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทที่ 11 มอก.คืออะไร

อ่าน 1697 | ตอบ 0
มอกคืออะไร ?

มอก.
เป็นคำย่อมาจาก'มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม' หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม 
ภายในมอก.แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบเป็นต้น 

ปัจจุบันสินค้าที่สมอ. กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้ อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาของ มอก.

 

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

  

วิสัยทัศน์
สมอ. เป็นศูนย์กลางด้านการมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ธุรกิจ สังคม และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

นโยบาย
มุ่งมั่นดำเนินงานด้านการมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ ผู้ประกอบการผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

  1. คุ้มครองผู้บริโภค
  2. รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
  3. พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
  4. สร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายขจัดปัญหา และอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจากมาตรการด้านมาตรฐาน

อำนาจหน้าที่ 
สมอ. มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนแม่บทของกระทรวงอุตสาหกรรม

พันธกิจ

  • กำหนดมาตรฐานและกำกับดูแลคุณภาพสินค้าและบริการให้เป็นไปตามข้อกำหนดและสอดคล้องกับแนวทางสากล
  • กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและให้การรับรอง
  • ส่งเสริมพัฒนากิจกรรมด้านการมาตรฐานของประเทศ
  • ร่วมมือด้านการมาตรฐานกับต่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี
  • บริการข้อสนเทศด้านการมาตรฐาน
  • สร้างเครือข่ายด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นเอกภาพ
  •  
ความหมายและความสำคัญของ มอก.

3 ทศวรรษ แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 

สมอ.ในฐานะสถาบันมาตรฐานแห่งชาติได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 37 ปีแล้ว โดยายึดมั่นในแนวทางของการพัฒนผู้ประกอบการ   และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้บริโภคด้วยการมาตรฐาน  อีกทั้งสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนให้สามารถพัฒนาระบบการจัดการขององค์กรให้ได้ตามมาตรฐานสากล ประสานความร่วมมือกับองค์กรด้าน มาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในตลาดการค้าโลก ขณะเดียวกันในระดับเศรษฐกิจชุมชน ที่ถือเป็นกำลัง สำคัญของประเทศ   สมอ. ก็ได้ให้การสนับสนุนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน   ด้วยการกำหนดและให้การ รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน   หรือ  มผช. ทำ ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและสามารถเพิ่มยอด จำหน่ายให้กับผู้ผลิตชุมชน


วิสัยทัศน์แห่งการพัฒนา
เป็นองค์กรนำด้านการมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระหว่างประเทศผลักดันอุตสาหกรรมทุก
ระดับให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก 

พันธกิจแห่งการพัฒนา

  • กำหนดมาตฐานระดับประเทศ เรียกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก.ตามความต้องการและการ ขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งร่วมกำหนดมาตรฐานในระดับสากลกับองค์กรสำคัญด้านมาตรฐาน
    เช่น องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO และคณะกรรมมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ หรือ IEC
  • รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยการอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน  ได้แก่เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไปและเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
  • การประสานความร่วมมือกับองค์กรสำคัญระดับสากลต่างๆ อาทิ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน
    หรือ ISO เกี่ยวกับการมาตรฐานเพื่อประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมและวิชาการ
  • เป็นศูนย์สนเทศด้านการมาตรฐาน ที่รวบรวมข้อมูลด้านการมาตรฐานทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นศูนย์กลางในการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน
  • ให้การรับรองระบบการจัดการสำหรับ SMEs ได้แก่ ระบบคุณภาพ ISO 9001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย   มอก. 18001 ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร HACCP และ GMP
  • ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานให้แก่ผู้ประกอบการครู-อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้มีการนำการมาตรฐานไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างกว้าง ขวาง
  • พัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน   ด้วยการกำหนดและให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน   ด้วยเครื่องหมาย มผช. เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ( OTOP) ทั่วประเทศ

ยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนา

  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมทุกระดับ   ให้มีการนำมาตรฐานไปใช้เพื่อเสริมสร้าง ขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • เพิ่มศักยภาพ ให้ผู้ประกอบการมีแนวทางในการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ
  • เพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจชุมชมให้ได้รับการพัฒนาด้านการมาตรฐานพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐานการผลิตที่ดียิ่งขึ้น

37 ปี แห่งการมาตรฐาน

        ผลงานด้านการมาตรฐาน

  • กำหนดมาตรฐาน มอก.แล้ว 2,557 เรื่อง
  • รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ 17,048 ราย
  • ส่งเสริม OTOP ชุมชน โดยการกำหนดมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนไปแล้ว จำนวน 1,124 เรื่อง และรับ
    การรับรองผู้ผลิตชุมชนแล้ว จำนวน 10,747 ราย

        แผนงานปี 2549

  • ดำเนินการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มอีก 115 เรื่อง โดยเป็นมาตรฐานบังคับ 16 เรื่อง เช่น กระทะไฟฟ้า, ตู้เย็น, เตาไมโครเวฟ, คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ดำเนินการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มอีก 250 เรื่อง

     โครงการใหม่ 
จัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการไทย    ด้านมาตรฐานและกฎระเบียบข้อบังคับทางวิชาการ ในการส่งออก (ในสาขาอัญมณี เครื่องหนัง สิ่งทอ ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์) ในปีงบประมาณ 2549-2551   เพื่อให้ผู้ประกอบการ พัฒนามาตรฐาน  และกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน   กฎระเบียบ   ข้อบังคับทางวิชาการ   ตลอดจนขั้นตอน ต่างๆ ของประเทศคู่ค้า  และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการทำข้อตกลงยอมรับร่วม   (Mutual Recognition Arrangement: MRA) กับประเทศคู่ค้าต่างๆที่รัฐบาลได้ไปเจรจาอันเป็นผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ 
      การจัดระบบบริหารงานคุณภาพของ สมอ. 
สมอ. เป็นหน่วยงานภาคราชการที่มีการพัฒนางานด้านการบริการมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง และในฐานะที่ สมอ.เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ที่เป็นผู้ก่อกำเนิด ISO 9000 สมอ.จึงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้มีการนำ ISO 9000 ไปใช้ในประเทศไทยอย่างกว้างขวางและเป็น ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ทั้งภาคราชการและเอกชน ทั้งภาคการผลิตและการบริการ นอกจากจะประชาสัมพันธ์ ให้หน่วยงาน ต่างๆ เห็นประโยชน์และนำ ISO 9000 ไปใช้แล้ว สมอ. ก็ได้นำ ISO 9000 มาจัดระบบในองค์กรด้วย ซึ่งนอกจาก ISO 9000 แล้ว ยังมีมาตรฐานสากลอีกหลายฉบับที่เป็นข้อกำหนดของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการรับรอง (certification) และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของ สมอ. ได้แก่ ISO 17011 เป็นต้น การที่ สมอ. นำมาตรฐานสากลต่างๆ เหล่านี้ มาจัดระบบบริหารงานคุณภาพภายในองค์กร ก็เพื่อพัฒนา งานบริการของ สมอ. ให้มีคุณภาพ และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ให้เป็น ระบบยิ่งขึ้น และให้เป็นที่เชื่อถือและเป็นที่ยอมรับขององค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม และการค้าระหว่างประเทศ

ความสำคัญของ มอก.

ิ         มอก. มีประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้ 
ประโยชน์ต่อผู้ผลิต 
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต 
2. ลดรายจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน 
3. ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ 
4. ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง 
5. เพิ่มโอกาสทางการค้า ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการกำหนดให้สินค้านั้นๆต้องได้รับมอก. 

ประโยชน์ผู้บริโภค 
1. ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า และ 
2. สร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้ 
3. ในกรณีที่ชำรุด ก็สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ใช้ทดแทนกันได้ 
4. วิธีการบำรุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องหัดใช้สินค้าใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ 
5. ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน 

ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมหรือประโยชน์ร่วมกัน 
1. ช่วยเป็นสื่อกลางเป็นบรรทัดฐานทางการค้า ทำให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความ เข้าใจที่ตรงกัน 
2. ก่อให้เกิดความยุติธรรมในการซื้อขาย 
3. ประหยัดการใช้ทรัพยากรของชาติ ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด 
4. สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทย 
5. ป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ 
6. สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ

หมายเลข มอก.


หมายเลขมอก.คือหมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อระบุลำดับที่ของการออกมาตรฐานและปีที่สมอ.ประกาศ
เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะระบุอยู่บนตัวสินค้า ตัวอย่างเช่น
      เครื่องหมายมาตรฐานที่แสดงว่าสินค้าได้รับมาตรฐานอะไร (ปัจจุบันสมอ.กำหนดออกมา 5 แบบ)

    
                                                

                                     ดังภาพคือเครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป
    ดังตัวอย่าง มอก. 56 - 2533 คือ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพตามมอก. ก็จะสามารถแสดงเครื่องหมาย มอก.บนผลิตภัณฑ์นั้นได้
   
                                    
หมายเลข มอก. มีความสำคัญทำให้ทราบว่าสินค้านั้นได้รับใบอนุญาตเมื่อไร ผลิตโดยบริษัทอะไร​

ใครเป็นผู้กำหนด  มอก.


สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสถาบันมาตรฐาน แห่งชาติ มีหน้าที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐาน โดยมี คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(กมอ.) ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากสามฝ่าย ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้ใช้ และนักวิชาการ มาร่วมกันกำหนดมาตรฐานนี้เพื่อให้มาตรฐานแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ ตลอดจนมีความถูกต้องทางวิชาการซึ่งสามารถนำไปใช้อ้างอิงได้
สมอ.

มอกเชื่อถือได้แค่ไหน ? 
       ผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมอก.ได้นั้น ต้องได้รับการตรวจสอบจากสมอ.แล้วว่ามีคุณภาพเป็นไปตาม ที่กำหนด การตรวจสอบของสมอ. จ ะนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์มาตรวจสอบคุณภาพ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ 
ซึ่งจะตรวจสอบทั้งระบบการผลิตและระบบการควบคุมคุณภาพของโรงงานด้วยว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่   ถ้าผ่าน สมอ.จะออกใบอนุญาตให้ผู้ผลิตแสดงเครื่องหมายมอก.ที่ผลิตภัณฑ์ของตนได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่สมอ.กำหนดด้วย
หลังจากนั้นสมอ.ก็จะมีการติดตามผลโดยการตรวจสอบระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานและสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทั้งจากโรงงานสถานที่นำเข้าและสถานที่จำหน่ายมาตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมอก. จะมีคุณภาพตามมาตรฐานและโรงงานยังสามารถรักษาคุณภาพไว้ได้ตามที่กำหนด

                                  มอก. ครับ
   เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)   

การนำมาตรฐานไปใช้ และประโยชน์ของการมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์ที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองจาก สมอ. แล้วว่ามีคุณภาพได้มารฐานตามที่กำหนดมีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา ปัจจุบัน สมอ. กำหนดเครื่องหมายมาตรฐานไว้ 3 ประเภท คือ
                                   
                                    
เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองด้วยความสมัครใจเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐาน

                                          

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เป็นเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องทำตามมาตรฐาน และต้องแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

                                             


เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นเครื่องหมายที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชนเพื่อช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของรัฐบาล





ที่มา   http://www.krumai.com/standard/p1.html
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :