สถิติ
เปิดเมื่อ18/06/2013
อัพเดท20/09/2013
ผู้เข้าชม11344
แสดงหน้า12351
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทที่ 4

อ่าน 244 | ตอบ 0
สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
หน่วยการเรียนที่ 1  เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์           
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้  มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

จุดประสงค์การเรียนรู้
                 ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
       1.    บอกความหมายของการประชาสัมพันธ์ ได้ 
       2.    บอกความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ได้
       3.    บอกประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานได้
       4.     สามารถเขียนผังมโนทัศน์ ความหมาย  ความสำคัญ  และประโยชน์ ของการประชาสัมพันธ์ได้
                 ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม    จริยธรรม  และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A)  เพื่อให้นักเรียนสามารถ
        1.     มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต    
        2.     มีทักษะในการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
        3.     มีคุณธรรม รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
                  ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
        1.    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประชาสัมพันธ์ 
        2.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        3.    สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้   
              
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
           มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ความหมายของการโฆษณา
     การโฆษณามาจากภาษาอังกฤษว่า  Advertising มีรากศัพท์จากภาษาลาติน  หมายถึง การหันเหจิตใจ ต้นศัพท์ของ 
     การโฆษณา มาจากภาษา สันสกฤตว่า “โฆษ”  แปลว่ากึกก้อง 
     การโฆษณา  หมายถึง  การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม เพื่อจูงใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการ
 
 
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายวัตถุประสงค์หลักของการโฆษณาได้ 
2. อธิบายวัตถุประสงค์ทั่วไปของการโฆษณาได้
3. บอกประโยชน์ของวัตถุประสงค์การโฆษณาได้

 “การโฆษณา” และ “การประชาสัมพันธ์” ต่างมีความสำคัญต่อองค์กร มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและทัศนคติของสังคมและมวลชนเป็นอันมาก ซึ่งคนนิยมใช้คำทั้งสองคำนี้เป็น คำเดียวกันว่า “การโฆษณาประชาสัมพันธ์” แท้จริงแล้วทั้งสองคำมีความหมายที่แตกต่างกัน 
    การประชาสัมพันธ์ มีความหมายที่กว้างกว่า  เน้นเรื่องการติดต่อสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพพจน์ขององค์กร โดยการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลความรู้และความคิดเห็น เป็นการจูงใจให้บุคคลให้การสนับสนุนองค์กร 
    ส่วน การโฆษณา เป็นเรื่องของธุรกิจการขายโดยเฉพาะ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการขายสินค้าเป็นสำคัญ เป็นการกระตุ้นการขาย สร้างบรรยากาศของการดำเนินการธุรกิจการขาย เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร บุคคล สินค้า ให้เป็นที่รู้จักและเป็นลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดผลกำไรมากที่สุด

 

ความแตกต่างระหว่างการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

การโฆษณา

การประชาสัมพันธ์

  • การโฆษณามีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ “ผลกำไร”
  • การโฆษณาโดยส่วนใหญ่หวังให้เกิดผลใน
    ช่วงระยะเวลาสั้นๆ
  • การโฆษณาเป็นการจูงใจเพื่อให้ขายสินค้าและบริการได้
  • การโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างมาก
  • การโฆษณาเป็นการสื่อสารทางเดียว
  • การโฆษณาต้องซื้อสื่อเพื่อเผยแพร่งานโฆษณา  เช่น การซื้อเวลาในรายการของสื่อโทรทัศน์ หรือการซื้อพื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์
  • การประชาสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นมากกว่าผลกำไร
  • การประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่หวังผลสำเร็จในระยะยาว เพราะเป็นการสร้าง ทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นการประชาสัมพันธ์เป็นการจูงใจเพื่อ
    สร้างภาพพจน์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร
  • การประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่อาศัยความร่วมมือ
    จึงเสียค่าใช้จ่ายน้อย
  • การประชาสัมพันธ์เน้นการสื่อสารสองทาง การประชาสัมพันธ์ไม่ต้องซื้อสื่อโดยตรง
  • แต่มีค่าใช้จ่ายทางอ้อมในลักษณะของการเป็น
    ผู้สนับสนุนรายการ เช่น เสื้อผ้าพิธีกรการสนับสนุนสถานที่ดำเนินการ

'โฆษณา' หมายถึง รูปแบบการใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร โดยไม่ใช้บุคคลเกี่ยวกับองค์การผลิตภัณฑ์ บริการ หรือความคิดโดยผู้อุปถัมภ์ ที่ระบุชื่อ ความหมายนี้ยังเป็นความหมาย ของสมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Marketing Association หรือ AMA) ได้บัญญัติไว้ จะเห็นว่าลักษณะของการโฆษณามีดังต่อไปนี้

A.R. Oxenfeldt and C. Swan กล่าวว่า 'การโฆษณาเป็นการสื่อสารโน้มน้าวใจจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ โดยมิ ได้เป็นไปในรูปส่วนตัว'

Maurice I. Mandell ให้คำจำกัดความว่า 'การโฆษณา หมายถึง รูปแบบการส่งเสริมการขายผ่านสื่อโฆษณา ที่มิใช่บุคคล และต้องชำระ เงินโฆษณาโดยผู้อุปถัมภ์ ซึ่งการโฆษณานี้มีความหมายแตกต่างไปจากการส่งเสริม การขายรูปแบบอื่น ๆ เช่น การขายโดยพนักงาน และการ ส่งเสริมการจำหน่าย เป็นต้น'

S.W. William Pattis กล่าวว่า 'การโฆษณา หมายถึง การสื่อสารในรูปแบบใด ๆ ซึ่งเจตนาที่จะกระตุ้นผู้ที่มี ศักยภาพในการซื้อและการ ส่งเสริมในด้านการจำหน่ายสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างประชามติ การกระทำการ เพื่อก่อให้เกิดการสนับสนุนทางการเมือง การขาย ความคิดหรือการเสนอความคิดเห็น หรือสาเหตุต่างๆ และการ กระทำ เพื่อให้ประชาชนเห็นคล้อยตาม หรือปฏิบัติไปในทางที่ผู้โฆษณาประสงค์'

ดร.เสรี วงษ์มณฑา ได้ให้ความหมายไว้ว่า การโฆษณา คือ กิจกรรมสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภค มีพฤติกรรมอันเอื้อ อำนวยต่อความเจริญของธุรกิจ การขายสินค้าหรือบริการ โดยอาศัยจากเหตุผล ซึ่งมีทั้งกลยุทธ์ จริงและเหตุผลสมมติ ผ่านทางสื่อโฆษณาที่ต้อง รักษาเวลาและเนื้อที่ ที่มีการระบุบอกผู้โฆษณาอย่างชัดแจ้ง

ตัวอย่างของโฆษณาดีๆ



ขอขอบคุณ :http://region3.prd.go.th/phrae/data/pr3.html

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :