สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด ข้อที่ 1 อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
หน่วยการเรียนที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย ๆ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายของการประชาสัมพันธ์ ได้
2. บอกความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ได้
3. บอกประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานได้
4. สามารถเขียนผังมโนทัศน์ ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ ของการประชาสัมพันธ์ได้
ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
2. มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
3. มีคุณธรรม รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประชาสัมพันธ์
2. ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
ประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นแผนกหนึ่งในองค์กรธุรกิจที่มีความสำคัญมาก จนบางครั้งถึงกับมีผู้เปรียบเปรยว่าเป็นหน้าตาของบริษัทเลยทีเดียว เพราะลักษณะงานที่รับผิดชอบนั้นเชื่อมโยงกับการสร้างสัมพันธ์อันดีทั้งกับภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ซึ่งนักประชาสัมพันธ์ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
- มีความสามารถในการให้คำแนะนำ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความสามารถในการให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับนโยบายประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์การ มีความคิดริเริ่ม ตัดสินใจรวดเร็ว
และถูกต้อง
- มีความสามารถในการฟัง นักประชาสัมพันธ์ที่ดีนอกจากจะต้องมีความสามารถในพูดชี้แจงให้
คำแนะนำแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการฟังด้วย เพื่อจะได้รับเอาความรู้สึกและความคิด
ของสาธารณชนมาปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ได้
- มีความสามารถในการโน้มน้าวใจ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องสามารถสื่อสารเพื่อชักจูงให้สาธารณชน
มีความเห็นด้วย เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การ
- มีความสามารถในการวางแผน นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องสามารถวางแผนงานและดำเนินงาน
อย่างรอบคอบ
- มีความรู้ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความรู้อย่างกว้างขวาง เพื่อที่จะสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ทั้ง
ในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา และอื่นๆ
- มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความรับผิดชอบต่องาน และมีความตรง
ต่อเวลา เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์ต้องมีความเกี่ยวข้องกับสาธารณชนจำนวนมาก
- มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ที่ดีควรมีประสบการณ์
ด้านหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนอื่นๆ เพื่อจะทำให้สามารถติดต่อและประสานงานกับสื่อมวลชนต่างๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำให้
สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างไม่หยุดนิ่ง
- มีความสามารถในการใช้ภาษา นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาทั้งภาษาพูด
และภาษาเขียน มีรสนิยมดีในการติดต่อ โดยใช้คำพูด ตัวหนังสือ และการแสดงออกได้ดี
- มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องสามารถเข้ากับบุคคลอื่น
ได้ดี สามารถขอความร่วมมือจากบุคคลต่างๆ ได้ มีไหวพริบและมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างความน่า
เชื่อถือและจูงใจ
- ศึกษาค้นคว้าความก้าวหน้าในวิชาชีพอยู่เสมอ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องรอบรู้ สนใจความเป็นไป
ของหน่วยงาน และไวต่อข่าวคราวความเคลื่อนไหวของหน่วยงานต่างๆ ในสังคม
- มีบุคลิกภาพที่ดี นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องพร้อมและเต็มใจที่จะติดต่อกับสาธารณชน กิริยามารยาท
เรียบร้อย ยิ้มแย้มแจ่มใจ และมีมนุษยสัมพันธ์ดี
- มีความซื่อสัตย์ต่อองค์การ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อองค์การ
- มีศีลธรรม นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องเป็นผู้มีศีลธรรมและคุณธรรม รู้จักถูกผิด
- มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องรู้ระเบียบปฏิบัติของสังคมและรับผิดชอบต่อสังคม
จริยธรรมและจรรยาบรรณของการประชาสัมพันธ์
ไม่ว่าจะประกอบวิชาชีพใด นอกเหนือจากความรู้ความสามารถแล้วจำเป็นต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน วิชาชีพประชาสัมพันธ์ก็เช่นกันที่จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์แห่งข้อบังคับที่ควบคุมการประกอบ
วิชาชีพประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมหรือการดำเนินการประกอบวิชาชีพ สมาคมการประชาสัมพันธ์แห่งสหรัฐอเมริกา (Public Relation Society of America) ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
การประชาสัมพันธ์ไว้ดังนี้
- นักประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ประพฤติตนในทางที่ชอบธรรมต่อลูกค้าหรือนายจ้างของตน และให้
ความเป็นธรรมต่อเพื่อนสมาชิกและสาธารณชน
- ต้องยึดหลักการประกอบวิชาชีพการประชาสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนโดยรวม
- ต้องยึดมั่นในมาตรฐานจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
- ต้องไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่มีผลประโยชน์ขัดกันหรือแข่งขันอยู่โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
ไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือกระทำการอันขัดต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ
ของตนที่มีต่อลูกค้า นายจ้าง เพื่อนสมาชิกหรือสาธารณชน โดยไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวข้อง
- ต้องประพฤติปฏิบัติตนในทางที่จะสร้างความมั่นใจต่อลูกค้าหรือนายจ้างทั้งในอดีตและปัจจุบัน
- ต้องไม่ปฏิบัติตนในทางทุจริตต่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การและทำให้เกิดปัญหาในช่องทางการสื่อสาร
กับสาธารณชน
- ต้องไม่จงใจที่จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดหรือชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อองค์การ
- ต้องระบุให้สาธารณชนทราบถึงแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารที่รับผิดชอบ
- ต้องไม่ใช้บุคคลหรือองค์การที่ตนฝักใฝ่มาปฏิบัติงานเป็นตัวแทน โดยการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน
หรือผลประโยชน์อันไม่พึงเปิดเผยของตน ลูกค้า หรือนายจ้าง ด้วยการปฏิบัติการคล้ายกับเป็นอิสระ
ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
- ต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการจงใจให้สมาชิกผู้อื่นเกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสีย
- ต้องไม่ใช้วิธีการใดๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าของสมาชิกผู้อื่น นายจ้าง ผลิตภัณฑ์
และองค์การของลูกค้าหรือของตน
- ต้องไม่รับค่าตอบแทน ค่านายหน้าหรืออื่นๆ จากบุคคลอื่นใดนอกเหนือจากลูกค้าหรือนายจ้างของตน
เท่านั้น เว้นแต่จะได้รับความยินยอม
- ต้องไม่ให้คำแนะนำแก่ลูกค้าหรือนายจ้างในรูปแบบที่ว่าค่าตอบแทน หรือค่าให้บริการขึ้นอยู่กับ
ความสำเร็จของผลงาน และไม่ควรทำสัญญาหรือเจรจาให้นายจ้างหรือลูกค้าต้องจ่ายค่าตอบแทน
ในรูปนั้นๆ
- ต้องไม่แทรกแซง ก้าวก่ายการรับจ้างงานตามวิชาชีพของสมาชิกผู้อื่น ในกรณีที่ดำเนินงาน
สองแห่งพร้อมกันจะต้องไม่ขัดผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
- ต้องละเว้นไม่เกี่ยวข้องกับองค์การใดๆ ทันทีเมื่อทราบว่าการปฏิบัติงานให้องค์การนั้นๆ จะยังผล
ในต้องละเมิดหลักการแห่งจรรยาบรรณ
- ต้องให้ความร่วมมือกับสมาชิกอื่นๆ ในการธำรงรักษาให้มีการประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้
- ผู้ได้รับเชิญให้มาเป็นสักขีพยานในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของจรรยาบรรณนี้จะต้องมาเป็นสักขีพยานตามคำเชิญ เว้นแต่จะมีเหตุสุดวิสัย ที่มา :http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit8/SUBM1/U814-1.htm
|