สถิติ
เปิดเมื่อ18/06/2013
อัพเดท20/09/2013
ผู้เข้าชม11422
แสดงหน้า12429
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   




บทที่ 3

อ่าน 155 | ตอบ 0
 
สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
หน่วยการเรียนที่ 1  เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์           
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้  มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

จุดประสงค์การเรียนรู้
                 ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
       1.    บอกความหมายของการประชาสัมพันธ์ ได้ 
       2.    บอกความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ได้
       3.    บอกประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานได้
       4.     สามารถเขียนผังมโนทัศน์ ความหมาย  ความสำคัญ  และประโยชน์ ของการประชาสัมพันธ์ได้
                 ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม    จริยธรรม  และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A)  เพื่อให้นักเรียนสามารถ
        1.     มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต    
        2.     มีทักษะในการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
        3.     มีคุณธรรม รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
                  ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
        1.    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประชาสัมพันธ์ 
        2.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        3.    สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้   
              
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
           มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
 
  • วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์โดยทั่วไปมีดังนี้

   1. เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจภายในองค์กร  สถาบันหรือหน่วยงานอันจะเป็นประโยชน์ ต่อการปฏิบัติงานให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

   2. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างองค์กร  สถาบัน  หรือหน่วยงานกับประชาชน  โดยการแจ้งนโยบาย  วัตถุประสงค์  ภารกิจและการดำเนินการ  ขององค์กร  สถาบันหรือหน่วยงาน ให้ประชาชน หรือผู้ใช้บริการทราบ  เพื่อให้สามารถเลือกใช้บริการหรือให้ความร่วมมือได้อย่างถูกต้อง
   3. เพื่อให้ผู้บริหารขององค์กร  สถาบันหรือหน่วยงาน  ได้รับทราบประชามติ หรือความคิดเห็น ของกลุ่มประชาชนหรือผู้ใช้บริการ  เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง  พัฒนา  หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
   4. เพื่อสร้างความชื่นชม  นิยม  ศรัทธาและภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร  สถาบัน หรือหน่วยงานนั้นให้คงอยู่ตลอดไป 
   5. เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร  ระหว่างองค์กร สถาบันหรือหน่วยงานกับประชาชนและผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกให้มีประสิทธิภาพ 
 

หลักการประชาสัมพันธ์ 

การประชาสัมพันธ์ ในปัจจุบันมีหลักใหญ่ๆ สำคัญๆ อยู่ 3 ประการด้วยกันคือ 

1. การบอกกล่าวหรือชี้แจงเผยแพร่ให้ทราบ การบอกกล่าวชี้แจงหรือเผยแพร่ให้ทราบนี้ คือ การบอกกล่าวชี้แจงให้ประชาชนทราบถึง 

1) นโยบาย 
2) วัตถุประสงค์ 
3) การดำเนินงาน 
4) ผลงาน บริการ และกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนข่าวคราวความเคลื่อนไหวขององค์การสถาบันให้ประชาชน และกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องได้ทราบและรู้เห็นถึงสิ่งดังกล่าว ซึ่งนับเป็นการปูพื้นฐานแห่งความเข้าใจในองค์การสถาบัน ทำให้สถาบันเป็นที่รู้จัก เข้าใจ และเลื่อมใส ตลอดจนทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่เป็นไปในทางที่ดีต่อองค์การสถาบัน 

2. การป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด การป้องกันความเข้าใจผิดนี้ ทางด้านวิชาการประชาสัมพันธ์ถือเป็นการประชาสัมพันธ์เพื่อป้องกัน (Preventive Relation) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการป้องกันไว้ก่อนย่อมมีผลดีกว่าที่จะต้องมาทำการแก้ไขในภายหลัง ฉะนั้น การป้องกันความเข้าใจผิดจึงเป็นการกระทำที่ป้องกันมิให้กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันบังเกิดความเข้าใจผิดในตัวสถาบันได้ 

3. ประเภทของการแก้ไขความเข้าใจผิด 

      1. การแก้ไขความเข้าใจผิดทางตรง คือการออกคำแถลง ถ้อยแถลง แถลงการณ์หรือประกาศ ชี้แจงแก้ความเข้าใจผิดนั้นไปยังกลุ่มประชาชนเพื่อให้ประชาชนทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง วิธีการแก้ไขความเข้าใจผิดวิธีนี้จึงเป็นวิธีแก้อย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือ ความจริงมีอยู่อย่างไรก็แถลงไปตามนั้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขความเข้าใจผิดทางตรง 

     2. การแก้ไขความเข้าใจผิดทางอ้อม การแก้ไขความเข้าใจผิดทางอ้อมนี้ส่วนมากใช้ความเข้าใจผิดบางประการที่ไม่สมควรใช้วิธีการแก้ไขทางตรง เพราะอาจจะทำให้เกิดผลเสียหายมากกว่าผลดี การแก้ไขความเข้าใจผิดทางอ้อมนี้ จึงมิใช่การออกประกาศชี้แจง หรือแถลงการณ์เหมือนวิธีแรก แต่เป็นการกระทำ (deeds) ให้ประชาชนได้เห็นประจักษ์แก่ตนเอง เพื่อลบล้างความเข้าใจผิดหรือข่าวลืออกุศลดังกล่าวเสีย ตัวอย่างเช่น มีข่าวลือหรือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสกปรกในการผลิต การบรรจุหีบห่อของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท ก็อาจจะแก้ไขความเข้าใจผิดด้วยการกระทำและแสดงให้เห็นข้อเท็จจริง โดยการเชิญสื่อมวลชนหรือตัวแทนกลุ่มประชาชนที่เข้าใจผิดเข้ามาเยี่ยมชมโรงงานหรือบริษัท หรือชมกรรมวิธีในการผลิต การบรรจุหีบห่อของสินค้า เป็นการลบล้างความเข้าใจผิดไปในตัว 

       3. การสำรวจประชามติ หลักที่สำคัญของการประชาสัมพันธ์อีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องมีการสำรวจวิจัยประชามติ เพราะองค์การสถาบันจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องรู้ซึ้งถึงความรู้สึกนึกคิดของประชาชน หรือที่เรียกว่าประชามติ (Public Opinion) จะต้องทราบว่าประชาชนต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งไหน ตลอดจนท่าทีต่างๆ ที่ประชาชนมีต่อองค์การสถาบันของเรา ซึ่งจะทราบได้จากการสำรวจวิจัยประชามติ เพื่อองค์การสถาบันจะสามารถตอบสนองสิ่งต่างๆ ให้สอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของประชาชน 


ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
Rich Text Editor
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :