สาระที่ 4 การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด ข้อที่ 1 อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
หน่วยการเรียนที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้ จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย ๆ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้
2. บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศได้
3. เปรียบเทียบพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในอดีตและปัจจุบันได้
ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ (ง 2.1)
2. มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ
3. มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต และ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นมาและวิวัฒนาของการประชาสัมพันธ์
2. ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นที่รู้จักยอมรับกันมาอย่างแพร่หลาย เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง ของประชาชนตลอดจนองค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรสาธารณกุศลที่ไม่มุ่งแสวงหากำไร การประชาสัมพันธ์เผยแพร่เป็นงานเชิงปฏิบัติ มุ่งสร้างสัมพันธภาพความรู้ความเข้าใจอันดีต่อกันผ่านสื่อชนิดต่างๆในรูปแบบที่หลากหลายกลวิธี ตามเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดอยู่กับที่ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ทำให้มนุษย์เรามีโอกาสติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมโดยไม่ขีดจ ากัดในเรื่องระยะทางและเวลาอีกต่อไป จากความก้าวหน้าดังกล่าวส่งผลให้มนุษย์แสวงหาความรู้ และเปลี่ยน เรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ( Public Relation; PR) เป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีความจำเป็นสำหรับบุคคล องค์กร สถาบัน ตลอดจนกิจกรรมการด าเนินงานแทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ (Bussiness) ด้านการศึกษา (Education) งานราชการ (Government) งานด้านสังคมสงเคราะห์ (Social and Welfare) หรือแม้แต่งานด้านการศาสนา (Religion) เป็นงานสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจและความสัมพันธ์ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติที่ดีร่วมกันกระบวนการและหน้าที่ของการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
1. เป็นความพยายามอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีการตระเตรียมไว้ก่อนอย่างรอบคอบ
2. เป็นการชักจูงประชาชน/กลุ่มเป้าหมาย ด้วยวิธีการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เป็นการกระทำ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชน/กลุ่มเป้าหมาย
4. เป็นการกระทำ ที่มีพื้นฐานอยู่ที่การสร้างความพอใจร่วมกัน
5. เป็นการกระทำ ที่ยึดถือระบบการติดต่อสื่อสารสองทาง
6. เป็นการกระทำ ที่ต่อเนื่อง สามารถวัดประเมินผลได้
สื่อสารประชาสัมพันธ์
หน่วยงานองค์กรสถาบันกลุ่มเป้าหมายรับฟังความคิดเห็น คุณสมบัติของนักเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
1. การกระทำดี การประพฤตปฏิบัติดีมีคุณธรรม สมควรแก่การเชื่อถือศรัทธาไว้วางใจ เป็น
แบบอย่างที่ดี
2. เร้าความสนใจ ด้วยเทคนิควิธีการสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน โดยคำนึงถึง
คุณธรรมจริยธรรมและผลประโยชน์โดยรวมของประชาชนด้วย ไม่คำนึงถึงประโยชน์
องค์กรเพียงฝ่ายเดียว
3. ใช้เครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ในการด าเนินงานมีการวางแผนการควบคุมการใช้สื่อในการเผแพร่อย่างรัดกุมเหมาะสม รวมทั้งเทคนิควิธีการในการใช้สื่อเครื่องมือต่างๆ บางครั้งจะต้องใช้หลายๆวิธีการรวมกัน เช่น การจัดนิทรรศการ อาจต้องใช้สื่อวีดิทัศน์ สื่อ สิ่งพิมพ์ และการน าเสนอด้วยวาจาประกอบด้วย เพื่อให้การเผยแพร่เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ